วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คำบริหารริมฝีปาก


 คำบริหารริมฝีปาก
อยาก มีริมฝีปากที่อวบอิ่ม ตึงกระชับ หวังพึ่งเพียงแค่ครีมบำรุงคงไม่พอ ต้องบริหารหรือออกกำลังริมฝีปากด้วยเทคนิคออกเสียง 3 คำ อย่าง ฮี ฟู และ มี ตามขั้นตอนต่อไปนี้ โดยทุกขั้นตอนต้องใช้ฝ่ามือทั้งสองวางประคองบริเวณแก้ม

เริ่ม จากฉีกยิ้มแล้วออกเสียง ฮี จากนั้นหุบปากลงแล้วออกเสียง ฟู ขั้นตอนนี้ต้องพยายามห่อริมฝีปากให้มากที่สุด ตามด้วยการออกเสียง มี เป็นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งให้เกร็งริมฝีปากบนให้เป็นเส้นตรงก่อนออกเสียงมี หายใจเข้าค้างไว้ 3 วินาที ผ่อนคลายริมฝีปากตามปกติ แล้วเริ่มบริหารตั้งแตกแรกใหม่อีก

ลองนำเทคนิคการบริหารริมฝีปากที่แนะนำไปปฏิบัติอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เท่านี้ริมฝีปากของคุณก็จะตึงกระชับ ไม่เหี่ยวย่นง่ายๆ.
ที่มาข้อมูล : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

การผสมผสานระหว่างคำสอนของพระพุทธเจ้ากับจิตวิทยาการรักษาสมัยใหม่



การผสมผสานระหว่างคำสอนของพระพุทธเจ้ากับจิตวิทยาการรักษาสมัยใหม่
และผลกระทบโดยรวม โดย Malcolm Huxter

การศึกษาในด้านจิตวิทยาในปัจจุบันถือว่ามีความก้าวหน้ามากทำให้เรามีความรู้และความเข้าใจความเป็นไปของจิตใจมนุษย์และจิตวิทยาสมัยใหม่ได้พัฒนาตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่แม่นยำเพื่อทดสอบและหาสาเหตุของความผิดปกติของร่างกายและความเป็นไปได้ในการเยียวยารักษา นอกจากนี้จิตวิทยาสมัยใหม่ยังสามารถนำมาปรับเข้าและประยุกต์ใช้กับคำสอนต่างๆในทางพระพุทธศาสนาได้อีกด้วย เช่นการนำเอาอริยสัจ 4 ซึ่งประกอบไปด้วย ทุกข์ ต้นตอของความผิดปกติทางร่างกาย สมุทัย สาเหตุของความผิดปกตินั้น นิโรธ การแก้ไขความผิดปกติ มรรค หนทางที่จะนำมาใช้ในการแก้ไข
                นอกจากนั้นการรักษาในรูปแบบของจิตวิทยาสมัยใหม่ยังได้นำหลักธรรมซึ่งเป็นธรรมที่สำคัญของพระพทุธเจ้าข้ออื่นๆ มาใช้ประกอบกันเช่น หลักปฏิจจสมุปบาท หลักมรรค 8 ในการแก้ปัญหาและหาทางออกให้กับผู้ป่วยเพื่อให้มีแนวทางในการบริหารจัดการชีวิตของตนในทางที่ถูกต้อง และการปฏิบัติสมาธิ ฝึกสติและบริหารจัดการอารมณ์ความรู้สึกของผู้ป่วยตามแนวทางการปฏิบัติในรูปแบบของพุทธศาสนา
                โดยภาพรวมแล้วหลักคำสอนต่างๆของพระพุทธเจ้ามีลักษณะและมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาจิตใจของมนุษย์เองอยู่แล้ว คำสอนที่สำคัญถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาในสาขาจิตวิทยาในปัจจุบันทำให้เราได้ทราบหนทางในการรักษาผู้ป่วยทางจิตโดยใช้หลักธรรมะป็นแนวทางโดยไม่ต้องคำนึงถึงวัฒนธรรม เวลาและสถานที่ เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นมีสุขภาพจิตที่ดี มีความทุกข์น้อยลง

พัฒนาตนเอง


พัฒนาตนเอง 1 : สมาธิกับการทำงาน
คุณรู้ไหมว่า ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา (ขออนุญาตอ้างอิง) ท่านสร้างระบบนำยานอวกาศลงจอดบนพื้นผิวดาวอังคารได้อย่างไร?
คำตอบสั้นๆ คือ สมาธิ ท่านฝึกสมาธิตั้งแต่เด็กๆ ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง http://www.mthai.com/webboard/5/127859.html
บันทึกจากคนวันอังคาร-คนสร้างยานอวกาศไปดาวอังคาร
จิตคนเรานั้นมีธรรมชาติต้องคิดหรือรับรู้ในอารมณ์ มักสอดส่ายไม่หยุดนิ่ง หากมีกาฝึกจิตให้นิ่งอยู่ในอารมณ์เดียวได้ จะทำให้จิตมีกำลังมากมายมหาศาล และใช้ประโยชน์จากภาวะจิตนี้ได้มาก คนที่มีสมาธิในกาทำงานนั้น เมื่อจะทำงานใดมัดคิดอยู่เรื่องเดียว เกิดประโยชน์กับการทำงานมาก เช่น คิดได้เร็ว ไม่เหน็ดเหนื่อยง่าย บางคนมีมาแต่เกิด บางคนไม่มี...แต่ก็ฝึกฝนให้มีได้โดยการฝึกสมาธิ
สมาธิมีประโยชน์มากมาย สามารถขจัดความเหน็ดเหนื่อย ขจัดความเกียจคร้าน ในขณะที่เรารู้สึกเหน็ดเหนื่อย และไม่อยากทำงาน แต่ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จำเป็นจะต้องทำงาน วิธีแก้ไขที่จะขจัดสิ่งรบกวนก็คือ การทำสมาธิ คือฝึกความตั้งใจแน่วแน่อยู่ในงานนั้นๆ เพียงอย่างเดียว ทำงานใดก็ตั้งใจแน่วแน่อยู่ในการงานนั้น ในการทำงานเราจะพบว่านอกจากการงานที่มากอยู่แล้ว ยังต้องพบปะพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน ๆ ก็เอาเรื่องอื่นมาพูดด้วย ทำให้ความแน่วแน่ ตั้งใจทำงานของเราเสียไปบ้าง กรณีนี้เราต้องพยายามดึงความคิดที่ออกไปนั้นกลับมาคิดที่เรื่องานให้สำเร็จลุล่วงจงได้
คนที่ไม่ค่อยมีสมาธิในการทำงาน มักจะทำงานด้วยความเผลอเรอและมักมีความผิดพลาดเกิดขึ้นบ่อยๆ อาการหนักเข้าอาจถึงขั้นขาดสติในการทำงานเลยก็เป็นได้ ทางการแพทย์ระบุว่า คนเหล่านั้นป็นคนที่เป็นโรคประสาท หรือถ้าร้ายแรงกว่านั้นก็คือเป็นโรคจิต โรควิตกจริต เป็นต้น
วิธีแก้ไข
  1. เลิกนิสัยวิตกกังวล อย่าวิตกกังวลกังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
  2. เลิกนิสัยพูดเพ้อเจ้อ เพราะจะทำลายสมาธิ ขาดสติคุม
  3. เลิกคิดฟุ้งซ่าน เลิกคิดสมาบัติบ้า
  4. ฝึกคิดให้เป็นระบบ คิดไปทีละเรื่องเฉพาะที่จำเป็น
  5. ฝึกทำงานตามลำดับความสำคัญ
  6. อย่าปล่อยใจให้เหม่อลอย ต้องใช้สติดูจิตอยู่ตลอดเวลา
  7. กำหนดจิตให้จดจ่อแน่วแน่อยู่กับงานที่กำลังทำ
  8. ฝึกแก้อุปนิสัยง่วงเหงาหาวนอน
  9. เลิกนิสัยอาฆาตพยาบาทคนอื่น แผ่เมตตาและทำใจให้รักคนอื่น
  10. ทำงานด้วยความรักในงาน และเอาใจใส่งาน
เพียง 10 ประการนี้ฝึกดีๆ (ผมเองก็ฝึกอยู่ด้วยเหมือนกัน) ย่อมส่งผลให้การทำงานมีคุณภาพได้ไม่มากก็น้อยครับ ไม่ต้องถึงขั้นต้องสร้างระบบนำยานอวกาศลงจอด  เอาแค่ให้งานสำเร็จลุล่วงอย่างมีคุณภาพก็พอ    ...ลองฝึกดู "ไม่ทำ...ไม่รู้" ครับ  ท่านที่ลองนำไปฝึกแล้วได้ผลดีอย่างไร...อย่าลืมนำมาเล่าให้ฟังบ้างนะครับ
พัฒนาตนเอง 2: สร้างนิสัยการเขียน
การเขียนบันทึกสาระต่างๆ บ้างก็เพื่อเตือนความจำ บ้างก็เพื่อสื่อความหมาย เพื่อการเผยแพร่ในโอกาสต่อไปก็ตามแต่โอกาส สิ่งหนึ่งที่ได้จากการเขียนบันทึก อย่างเช่นใน Blog ทั่วไป ที่ใกล้ตัวก็คือ Gotoknow นี้เอง ถือว่าเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งได้เป็นอย่างดี โดยบันทึกนั้นๆ อาจได้แก่
  • อนุทินประจำวัน อาจบันทึกสั้นๆ เช่น การสรุปสาระสำคัญของการอภิปราย บันทึกการเดินทาง การทำงาน ฯลฯ
  • เขียนบันทึกเพื่อสื่อความหมาย อาจเป็นได้ทั้งทางวาจา สื่อความหมายทางพฤติกรรม
  • จดบันทึกทริค/เทคนิค ตามคำแนะนำของผู้รู้ต่างๆ หรืออาจเป็นคติ คำคม ข้อคิดเห็นต่างๆ เพื่อนำไปสู่การปรับใช้หรือปฏิบัติ
ข้อเสนอข้างต้นอาจไม่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย หากต้องการถ่ายทอด เผยแพร่สู่สาธารณะ อาจใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยก็ได้ เช่น Blog (Gotoknow) เพื่อบันทึกข้อเขียนได้อีกช่องทางหนึ่ง เพียงแต่ต้องเขียนอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ ก็สามารถช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราพัฒนาได้ดีขึ้นไป

How to concentrate your work วิธีสร้างสมาธิในการทำงาน


How to concentrate your work
วิธีสร้างสมาธิในการทำงาน


       สมาธิเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในการทำงานทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาก็ต้องมีสมาธิในการเรียน คนขับแท็กซี่ก็ต้องมีสมาธิในการขับรถ หมอก็ต้องมีสมาธิในการตรวจคนไข้ รวมถึงพวกเราหนุ่มๆ ออฟฟิศทั้งหลายก็ต้องใช้สมาธิในการทำงานด้วยครับ เพราะสมาธิจะช่วยให้เราทำงานได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
      ใครที่รู้ตัวว่าไม่ค่อยจะมีสมาธิในการทำงาน ลองมาผึกสมาธิไปพร้อมๆ กับผมกันดีกว่าครับ

        อย่างแรกลองฝึกขั้นง่ายๆ กันก่อน นั่นก็คือการอ่านหนังสือครับ หลายคนคงจะงง เพราะตอนนี้คุณก็กำลังอ่านอยู่ อ่านหนังสือจะฝึกสมาธิได้อย่างไร

      การอ่านหนังสือที่ผมแนะนำไม่ใช่การอ่านแบบกวาดสายตาผ่านๆ ไปแบบรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง แต่เป็นการอ่านที่คุณห้ามละสายตาจากตัวอักษรนั้นๆ เลย เรียกว่าอ่านแบบพยายามหาว่ามันมีตัวไหนที่เขาเขียนผิดหรือเปล่า ค่อยๆ อ่านครับ

      ไม่ต้องรีบ แรกๆ ลองตั้งเวลาสัก 5 นาทีก่อน ถ้าคุณทำได้โดยที่คุณไม่ละสายตาไปสนใจสิ่งรอบข้าง ครั้งต่อไปคุณก็เพิ่มเวลาเป็น 10 นาที 15 นาที แล้วคุณจะมีสมาธิกับสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่มากขึ้น

      ขั้นต่อมา ลองตั้งใจฟังบ้างครับ เพราะหลายๆ คน บางครั้งเจ้านายสั่งอย่างแต่เรากลับไปทำอีกอย่าง ของแบบนี้มันก็ต้องมีผิดพลาดกันได้บ้าง แต่คุณควรจะแก้ไขโดยฝึกสมาธิในการรับฟังครับ

     โดยเริ่มจากการฟังเทปบันทึกเสียงหรือคำสอนต่างๆ ที่ไม่ใช่เพลง เพราะถ้าเป็นเพลง คุณอาจจะเพลิดเพลินกันจนไม่ได้จับใจความสำคัญ  ฝึกไปเรื่อยๆ เลยครับ จนคุณแทบจะจำทุกคำพูดในเทปนั้นได้ คราวนี้จะได้มีสมาธิในการฟัง

     อีกขั้นตอนหนึ่ง ลองลงมือจัดเอกสารต่างๆ ของคุณให้มันเป็นที่เป็นทาง ก็นับเป็นการฝึกสมาธิให้คุณได้ เพราะขณะที่คุณจัดเอกสารอยู่ คุณก็ต้องนึกว่าเอกสารฉบับนี้เราวางไว้ตรงนี้ ฉบับนั้นเราวางไว้ในตู้ อะไรทำนองนี้ เรียกว่าเป็นการย้ำความจำของเราอีกที แถมพอคราวหน้าเรามาหาเอกสารฉบับนั้นๆ ก็จะได้ไม่ต้องรื้อโต๊ะกันให้วุ่นอีกด้วย

      ต่อมา ลองจัดลำดับความสำคัญของงานดูว่างานไหนสำคัญที่สุด ถ้าคุณยังนึกไม่ออก ก็ลองนึกดูว่างานชิ้นไหนที่คุณทำแล้ว คนอื่นๆ สามารถรับงานต่อจากคุณได้ หรือเป็นงานที่เร่งจริงๆ ถ้าไม่ได้ภายในชั่วโมงนี้หรือวันนี้ คนอื่นจะได้รับความเดือดร้อน นั่นแหละครับ รีบทำไปก่อนเลย คราวนี้คุณก็มาไล่งานอื่นๆ ดูว่าต้องทำอันไหนต่อ เป็นการทวนตัวเองด้วยว่าวันนี้คุณมีงานอะไรต้องทำบ้าง

      ข้อสุดท้ายครับ ทัศนคติกับงานที่คุณทำอยู่ ถ้าใครมีทัศนคติไม่ดีกับงานที่ตัวเองทำอยู่ ต่อให้เป็นเทพก็ไม่สามารถที่จะมีสมาธิในการทำงานได้ เพราะคุณจะหาแต่ข้ออ้างมาปฏิเสธงานต่างๆ ที่เข้ามา เพราะฉะนั้นคุณควรปรับเปลี่ยนทัศนคติเสียใหม่ เพื่อการทำงานที่ราบรื่น

       แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ต้องเป็นตัวคุณเองที่ต้องฝึกทั้งสมาธิ ฝึกทั้งการควบคุมอารมณ์ของตนเอง เมื่อจิตใจสงบ มีสมาธิ สติในการทำงานก็จะตามมา งานของคุณก็จะผิดพลาดน้อยลงครับ


วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กระบวนการบริหาร


กระบวนการของการบริหารของแต่ละองค์กรนั้นมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าองค์กรไหนจะใช้วิธีการใดในการบริหารจัดการกับทรัพยากรภายในองค์กรของตน เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและเพื่อให้บรรลุวัตถุปะสงค์สูงสุดตามที่องค์กรนั้นๆได้วางไว้
                ในกระบวนการบริหารจัดการในองค์กรนั้นประกอบไปด้วยหลากหลายแนวความคิดทางบริหาร เช่นหลัก  POSDC, POLC,POSCORB เป็นต้นซึ่งผู้บริหารองค์กรมีหน้าที่ที่จะเลือกสรรเอาหลักการในการบริหารที่เหมาะสมมาประยุกต์หรือปรับใช้กับองค์กรของตนเพื่อประโยชน์ขององค์กรเอง แต่โดยรวมแล้วหลักการบริหารจะประกอบไปด้วยขั้นตอนเหล่านี้คือ
                1. การวางแผน (Planning) หมายถึง กระบวนการในการกำหนดเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ สำหรับช่วงเวลาในอนาคต และวิธีรการให้องค์การบรรลุเป้าหมาย โดยยึดหลักความมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากที่สุด
                2.การจัดองค์กร (Organizing) หมายถึง ขบวนการของการกำหนดรูปแบบโครงสร้างขององค์กร กฎเกณฑ์ ที่จะใช้ควบคุมทรัพยากรต่างๆ ให้ทำงานร่วมกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การ โดยจะต้องมีการกำหนดอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบ ของพนักงานแต่ละคนว่าใครทำอะไร ใช้วิธี และเครื่องมืออะไรบ้าง ในการทำงานตามกฎเกณฑ์เฉพาะที่จะทำให้งานนั้นดำเนินไปได้
                3.การจัดคนเข้าทำงาน(Staffing) หมายถึง หน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล โดยเริ่มตั้งแต่ เสาะหา คัดเลือก บรรจุคนที่มีความรู้ ความสามารถเข้าทำงาน พัฒนาฝึกอบรมให้บุคคลกรมีความสามารถมากเพิ่มขึ้นในการทำงาน
                4.การสั่งการ(Directing) หมายถึง ความพยายามที่จะทำให้การกระทำต่างๆ ของทุกฝ่ายในองค์กร เป็นไปในทางที่จะส่งเสริมให้เกิดผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
                5.การควบคุม(Controlling)  หมายถึง การติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานต่างๆ ว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่และมีข้อบกพร่องอะไรที่จะต้องทำการแก้ไขหรือไม่
6.ภาวะผู้นำในองค์กร( Leading) หมายถึง หน้าที่ทางการบริหารที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมองค์การ การใช้อำนาจหน้าที่ แรงจูงใจ อันจะทำให้บุคลากรขององค์การสามารถทำงานได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์การตั้งไว้
                ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในกระบวนการบริหารนั้นอาจหมายถึงขั้นตอนทั้งหมดที่มีอยู่ เพราะในการบริหารจัดการองค์กรนั้นจะต้องใช้การร่วมมือของทุกส่วน ทุกขั้นตอน เพื่อให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ เริ่มตั้งแต่กระบวนการวางแผ่น และกำหนดเป้าหมาย การจัดการรูปแบบ โครงสร้างขององค์กร การกำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบให้ชัดเจน การเลือกสรรคนที่มีคุณภาพ เข้ามาทำงาน การควบคุมให้งานที่ทำบรรลุผลสำเร็จ และมีประสิทธิภาพ ไปจนถึงผู้นำในองค์กรที่จะต้องทำหน้าที่ผู้นำเพื่อเป็น แบบอย่างที่ดี เป็นแรงจูงใจให้บุคลากร เพราะฉะนั้นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในกระบวนการบริหารนั้นเราอาจกล่าวได้ว่าอาจเป็นได้ทุกส่วนทุกขั้นตอนและมีความสำคัญเท่าๆกัน